จรรยาบรรณของบรรณาธิการ (Ethics of editor)
1. บรรณาธิการควรปฏิบัติภารกิจหลักในการจัดหาต้นฉบับบทความ (manuscript) และประสานงานกับผู้เขียน โดยพิจารณาบทความเบื้องต้นเกี่ยวกับ ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ บทนำ วิธีดำเนินการ สรุปผล อภิปรายผล และเอกสารอ้างอิง ความถูกต้องของข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งกลั่นกรองข้อความที่เข้าข่ายการละเมิดผลงานทางวิชาการ และการละเมิดลิขสิทธิ์
2. บรรณาธิการควรประสานงานกับผู้ทรงคุณวุฒิ โดยพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในผลงานทางวิชาการ
3. บรรณาธิการต้องปราศจากอคติและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ตรวจพิจารณาบทความ ทั้งนี้ บรรณาธิการต้องปกปิดมิให้ผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิทราบ บรรณาธิการต้องรับฟังความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ข้อเสนอแนะต่อการพิจารณาคุณภาพของบทความ และให้ความสำคัญต่อเนื้อหาอันมีประเด็นที่อาจก่อให้เกิดข้อโต้แย้งหรือข้อทักท้วงทั้งในทางวิชาการหรือทางกฎหมาย รวมทั้งเนื้อหาที่อาจเข้าข่ายที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม
4. บรรณาธิการต้องรับผิดชอบต่อการตีพิมพ์เผยแพร่บทความสู่สาธารณะ โดยการทำความตกลงกับผู้เขียนเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของแต่ละฝ่าย รวมถึงความรับผิดชอบทางกฎหมายกรณีมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)

จรรยาบรรณของผู้เขียนบทความ (Ethics of author)
1. ผู้เขียนบทความต้องมีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรมทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลทางวิชาการ
2. ผู้เขียนบทความต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัยด้วยความรอบคอบ และมีจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือในสัตว์ทดลอง
3. ผู้เขียนบทความต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการ และต้องไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
4. ผู้เขียนบทความต้องมีอิสระทางความคิดโดยปราศจากอคติ ต้องตระหนักว่าอคติส่วนตนหรือความลำเอียงทางวิชาการอาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูลและข้อค้นพบทางวิชาการ
5. ผู้เขียนบทความมีจุดมุ่งหมายในการเผยแพร่ผลงานเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่ขยายผลข้อค้นพบจนเกินความเป็นจริง โดยไม่ใช้ผลงานทางวิชาการไปใช้ในทางมิชอบ
6. ผู้เขียนบทความพึงเคารพต่อความคิดเห็นทางวิชาการ ยอมรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น สามารถเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการดำเนินงาน

จรรยาบรรณของผู้ทรงคุณวุฒิตรวจพิจารณาบทความ (Ethics of reviewers)
1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและ/หรือผลงานที่ทำการตรวจประเมิน
2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในสาขาวิชาของตนอย่างเต็มความสามารถ หากตรวจสอบพบว่าผู้เขียนมีการคัดลอกผลงานหรือละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิต้องยกเลิกการพิจารณาบทความนั้น และแจ้งต่อบรรณาธิการโดยทันที
3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีอคติต่อการประเมิน เมื่อพบว่าผลงานนั้นขัดแย้งกับความคิดเห็นส่วนตัวและไม่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาการ